หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
จำนวนรายวิชาในหลักสูตร 15 หน่วยกิต
NS 1001 นโยบายสุขภาพและการพยาบาล 2
(Health Policy and Nursing)
NS 2121 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิก 2
(Advanced Health Assessment and Clinical Judegment)วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ความเป็นมา/ ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ชื่อหลักสูตรและประกาศนียบัตร
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
ภาษาอังกฤษ Program of Nursing Specialty in Nursing for Patients with Stroke
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Certificate of Nursing Specialty in Nursing for Patients with Stroke
ชื่อย่อ ป. การพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โครงสร้าง/องค์ประกอบของหลักสูตร
ระยะเวลาการศึกษา
– ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะใช้เวลาในการศึกษาอบรม 16 สัปดาห์
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 15 หน่วยกิต
– ภาคทฤษฎี 10 หน่วยกิต
– ภาคปฏิบัติ 5 หน่วยกิต
วิชาภาคทฤษฎี 1 หน่วยกิต = 15 ชั่วโมง
วิชาภาคปฏิบัติ 1 หน่วยกิต = 60 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษา ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- 1. เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจากสภาการพยาบาล
- 2. มีประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่น้อยกว่า 3 ปี
- 3. มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- 4. ผ่านการคัดเลือก โดยคณะกรรมการสอบคัดเลือก
จำนวนรายวิชาในหลักสูตร 15 หน่วยกิต
NS 1001 นโยบายสุขภาพและการพยาบาล 2
(Health Policy and Nursing)
NS 2121 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิก 2
(Advanced Health Assessment and Clinical Judegment)
NS 2122 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน 3
(Nursing Care for Patients with Acute Stroke)
NS 2123 การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟู 3
(Nursing Care for Patients with Post Stroke)
NS 2124 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลัน 3
(Nursing Care for Patients with Acute Stroke Practicum)
NS 2125 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟู 2
(Nursing Care for Patients with Post Stroke Practicum)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไป
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของพยาบาลทางด้านความรู้ ทักษะในการรักษาพยาบาลและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อให้พยาบาลมีความรู้ ความสามารถ
ดังต่อไปนี้
- – วิเคราะห์นโยบายสุขภาพ สภาวการณ์ และระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- – ประเมินภาวะสุขภาพที่ซับซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- – วิเคราะห์และตัดสินปัญหาทางคลินิก รวมทั้งความต้องการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและครอบครัว
- – วางแผนการพยาบาลและแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน จากกลุ่มเสี่ยงไปจนถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน ระยะวิกฤต และระยะฟื้นฟู
- – ปฏิบัติการพยาบาลด้านการดูแลในระยะเฉียบพลัน ระยะวิกฤต และระยะฟื้นฟู โดยใช้ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นปัจจุบันและ/หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- – ออกแบบสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- – ประสานงานกับทีมสหสาขาวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน
- – ระบุผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และครอบครัว
- – พัฒนาฐานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยสนับสนุนและผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และครอบครัว
ความเป็นมา/ ปรัชญาของหลักสูตร
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Diseases หรือ Stroke) เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากมีอัตราการเจ็บป่วย และเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น จากรายงานสำนักระบาดวิทยาปี พ.ศ.2552 พบว่าโรคหลอดเลือดสมองมีภาระของโรคอยู่ในอันดับที่ 2 ในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่1ในผู้หญิง โดยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตถึง 18.2 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรค หลอดเลือดสมองยังมีความพิการต่างๆ หลงเหลืออยู่ และมักมีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง การรู้สติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคิด และความบกพร่องด้านการสื่อสาร นับเป็นการสูญเสียทางด้านสุขภาพหรือเป็น “ภาระโรค” ซึ่งหมายถึงการสูญเสียด้านสุขภาพและการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษา และเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพิงสังคมมากขึ้น รวมทั้งประเทศชาติยังสูญเสียผลผลิตจากประชาชนที่ป่วยด้วยโรคนี้
เป้าหมายสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทุกปี คือ การรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยฟื้นตัวอย่างรวดเร็วสู่สภาพเดิม หรือในกรณีที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ และจิตสังคมได้อย่างต่อเนื่อง มีความพิการหลงเหลือน้อยที่สุด สามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด ลดภาระของครอบครัวและสังคม ทั้งด้านค่าใช้จ่ายและทรัพยากรอื่นๆในการดูแล
การจัดหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการเกิด การเกิดซ้ำ การรักษาพยาบาลระยะเฉียบพลัน การฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้พยาบาลต้องมีความเข้าใจในระบบบริการสุขภาพ การวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งในระยะเฉียบพลัน ระยะวิกฤต ระยะฟื้นฟู และการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน สามารถออกแบบสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวและชุมชนได้อย่างเต็มศักยภาพ