หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
รายวิชาในหลักสูตร (แบบที่ 1) ระยะเวลา 4 เดือน
วัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร
ความเป็นมา/ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ชื่อภาษาอังกฤษ Program of Palliative Nursing
ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็มภาษาไทย ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
ชื่อภาษาอังกฤษ Certificate of Palliative Nursing
ชื่อย่อ ป.การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
โครงสร้างหลักสูตร
องค์ประกอบหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 15 หน่วยกิต
วิชาภาคทฤษฎี 10 หน่วยกิต (1 หน่วยกิต = 16 ชั่วโมง)
วิชาภาคปฏิบัติ 5 หน่วยกิต (1 หน่วยกิต = 60 ชั่วโมง)
- กระบวนวิชาในหลักสูตร
1. หลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลแบบประคับประคอง (แบบที่ 1) ระยะเวลา 4 เดือน
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
- ได้รับคุณวุฒิพยาบาลศาสตรบัณฑิต
- เป็นพยาบาลวิชาชีพมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 2 ปีภายหลังจบการศึกษา
- ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาลทุกระดับ
- เป็นผู้ที่หน่วยงานพิจารณาว่ามีความเหมาะสมจะปฏิบัติการพยาบาลและได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน่วยการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล
2. หลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลแบบประคับประคอง (แบบที่ 2) ระยะเวลา 2 เดือน
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
- ได้รับคุณวุฒิพยาบาลศาสตรบัณฑิต
- พยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง อนุสาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่ได้รับอนุมัติจากสภาการพยาบาล ปฏิบัติงานการสอนและให้บริการพยาบาลแก่ผู้ป่วย
- หน่วยงานต้นสังกัดรับรองว่าเป็นความต้องการการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน
รายวิชาในหลักสูตร (แบบที่ 1) ระยะเวลา 4 เดือน
รายวิชาปฏิบัติ
(จำนวน 5 หน่วยกิต 300 ชั่วโมง)
ฝึกการปฏิบัติและเพิ่มประสบการณ์การปฏิบัติการพยาบาลแบบประคับประคองและระยะสุดท้ายตามสมรรถนะทั้ง 9 ด้าน ที่หน่วยงานของตนเอง/รพ.ที่เลือกสรรภายใต้การนิเทศของครูพี่เลี้ยงภาคปฏิบัติ และจัดทำรายงานกรณีศึกษา
รายวิชาทฤษฎี
จำนวน 5 รายวิชา 10 หน่วยกิต (1 หน่วยกิต = 16 ชั่วโมง) จำนวนทั้งสิ้น 150 ชั่วโมง ประกอบด้วย
1.NS 2181 รายวิชาระบบสุขภาพและภาวะผู้นำในการดูแลแบบประคับประคอง
(Health care system and leadership in palliative care)
หน่วยที่ 1 นโยบายระบบสุขภาพในระดับนานาชาติและในประเทศไทย
(2 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 2 ระบบบริการสุขภาพสำหรับการดูแลแบบประคับประคองใน ชุมชน บ้าน และสถานบริการ
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 3 ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 4) เศรษฐศาสตร์สุขภาพกับการดูแลในระยะประคับประคอง
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 5 ระบบสารสนเทศ เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลและการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วย
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 6 ภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ
(10 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 7 จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(5 ชั่วโมง)
2. NS 2182 รายวิชาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
(Palliative nursing)
หน่วยที่ 1 ปรัชญา หลักการ และรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองในระดับนานาชาติและสังคมไทย
(6 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 2 แนวคิดคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะท้าย
(2 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 3 บทบาทพยาบาลและการดูแลแบบประคับประคองตามกลุ่มโรคและวัย
(10 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 4 การประเมินภาวะสุขภาพแบบองค์รวมและเครื่องมือการประเมิน
(8 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 5 แนวคิดคุณภาพการดูแลและการประเมินผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยระยะประคับประคอง
(4 ชั่วโมง)
3. NS 2183 รายวิชาการสื่อสารและการสอนในการดูแลแบบประคับประคอง
(Communication and education in palliative care)
หน่วยที่ 1 การสื่อสาร การให้คำปรึกษา และการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการดูแลแบบประคับประคอง
(12 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 2 การประชุมครอบครัว
(Family conference) (5 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 3 การวางแผนการดูแล
(Advance care plan) (3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 4 การสอนและให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
(Education in palliative care) (10 ชั่วโมง)
4. NS 2184 รายวิชาการจัดการความปวดและการจัดการอาการ
(Pain and symptom management)
หน่วยที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับอาการ ความปวด และความทุกข์ทรมานที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะประคับประคอง
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 2 พยาธิสรีรวิทยาของอาการรบกวนที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะประคับประคอง
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 3 การประเมินอาการรบกวนและเครื่องมือมาตรฐานในการประเมินอาการ
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 4 พยาธิสรีรวิทยาของความปวด
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 5 การประเมินความปวดและเครื่องมือมาตรฐานในการประเมินความปวด
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 6 การรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยาและแนวปฏิบัติเพื่อการจัดการอาการ
ความปวด และความทุกข์ทรมาน
(10 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 7 การประเมินผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในการจัดการอาการความปวดและความทุกข์ทรมาน
(2 ชั่วโมง)
5. NS 2185 รายวิชาการจัดการดูแลระยะใกล้ตายและการดูแลครอบครัว
(Caring for the dying and bereavement care)
หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความตายและกระบวนการตายในมิติการแพทย์ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 2 วัฒนธรรม ประเพณีเกี่ยวกับความตายและบทบาทของพยาบาลในบริบทพหุวัฒนธรรม
(3 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 3 กระบวนการตาย การประเมินและเครื่องมือประเมินผู้ป่วยและครอบครัวระยะใกล้ตาย (2 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 4 การดูแลในระยะใกล้ตายและภายหลังการตายแบบองค์รวม
(6 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 6 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะเศร้าโศกและการสูญเสีย
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 7 การประเมินและเครื่องมือประเมินภาวะเศร้าโศก/ภาวะซึมเศร้า/วิตกกังวล
(2 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 8 การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่มีภาวะเศร้าโศกเสียใจ
(4 ชั่วโมง)
หน่วยที่ 9 การดูแลที่บ้าน
(5 ชั่วโมง)
รายวิชาในหลักสูตร (แบบที่ 2) ระยะเวลา 2 เดือน
รายวิชาทฤษฎี
ศึกษารายวิชาทฤษฏี จำนวน 5 รายวิชา 10 หน่วยกิต (150 ชั่วโมง) เท่ากับหลักสูตร 4 เดือน
รายวิชาปฏิบัติ
ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรอนุสาขาการพยาบาลแบบประคับประคองที่ได้รับอนุมัติจากสภาการพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติใช้แฟ้มสะสมผลงานในการเทียบโอนดังนี้
- – ผลงานปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ป่วยประคับประคองในหน่วยงาน/ในหอผู้ป่วย/ การจัดการเรียนการสอน โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง
- – รายงานกรณีศึกษาผู้ป่วยและครอบครัวที่ซับซ้อนจำนวน 2 ราย โดยครอบคลุม ทั้งการปฏิบัติการพยาบาลในเรื่องการจัดการความปวดและการจัดการอาการ การประชุมครอบครัว การประสานงาน/ส่งต่อ/การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
- – การเทียบโอนจะสมบูรณ์เมื่อผ่านการเห็นชอบโดยคณะผู้สอนในหลักสูตร
วัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมี มีทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับปรัชญาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง พยาธิสรีรวิทยาของการเจ็บป่วยเรื้อรังและการเจ็บป่วยระยะท้าย มีทักษะในการเลือกใช้เครื่องมือการประเมินความปวดและอาการต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความปวดและอาการต่างๆ ทั้งศาสตร์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์ผสมผสาน มีทักษะการใช้การสื่อสารเพื่อการรักษา ช่วยเหลือให้ครอบครัวของผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับความสูญเสีย/ความเศร้าโศกได้ การประสานงานและทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ในบริบทที่มีความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม บนพื้นฐานด้านจริยธรรม กฎหมาย และ จรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถประเมินผล และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
วัตถุประสงค์เฉพาะ
เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ผู้เข้าอบรมสามารถ
– อธิบายระบบบริการสุขภาพ นโยบายสุขภาพด้านการดูแลแบบประคับประคองได้
– อธิบายแนวคิดและหลักการการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้
– อธิบาย พยาธิสรีรวิทยาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ความปวด อาการ และการเจ็บป่วยระยะท้ายได้
– ประเมินภาวะสุขภาพ ความต้องการ วินิจฉัยปัญหา และการจัดการทางการพยาบาลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ
และสิ่งแวดล้อมโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานได้
– สื่อสารและให้การปรึกษาเพื่อการรักษา ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้
– วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลเพื่อจัดการความปวด อาการต่างๆ และความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์
และจิตวิญญาณ
– วางแผนและปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิตและการช่วยเหลือครอบครัวภายหลังการเสียชีวิตได้
– สอนผู้ป่วย ครอบครัว นักศึกษาพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพ จิตอาสา และชุมชน เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้
– ประสานงานการส่งต่อ การวางแผน การเป็นที่ปรึกษา การทำงานร่วมกับทีมแพทย์ พยาบาล สหสาขาวิชาอื่น ๆ และครอบครัวผู้ป่วย ในการดูแลผู้ป่วย
แบบประคับประคอง
ความเป็นมา/ปรัชญาของหลักสูตร
ในปัจจุบันการบริการสุขภาพให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพบริการ และการส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น โดยเฉพาะการดูแลการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด และให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองมากขึ้น การดูแลแบบประคับประคองตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลกเป็นการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิต การบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องมีการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและครอบครัวปรับตัวกับความเสื่อมและความเจ็บป่วยจากโรคที่ไม่สามารถรักษาหาย และช่วยบรรเทาความโศกเศร้าโดยไม่พยายามเร่งรัดหรือเหนี่ยวรั้งการตาย
บริการสุขภาพของประเทศไทยมีการดำเนินการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวตามมาตรฐานแนวคิดการดูแลแบบประคับประคองมาระยะหนึ่ง มีบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการดูแลแบบประคับประคอง อย่างไรก็ตามบุคลากรสุขภาพส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองและการพัฒนาคุณภาพการดูแล บุคลากรสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาล มีการขยายบทบาทในการดูแลแบบประคับประคองแก่ผู้ป่วยและครอบครัว บทบาทที่สำคัญ ได้แก่ การคัดกรองผู้ป่วย การประเมินภาวะสุขภาพ การจัดการอาการ ความปวด และความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา/จิตวิญญาณ การป้องกันและดูแลภาวะแทรกซ้อนจาก การรักษา การพิทักษ์สิทธิการตายของผู้ป่วย การบริหารจัดการทรัพยากรในการดูแลอย่างเหมาะสม และการจัดบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พยาบาลต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในด้านการพยาบาลแบบประคับประคอง มีความชำนาญในทักษะการสื่อสารขั้นสูงการประยุกต์วิธีบำบัดทางการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในทุกกลุ่มโรค กลุ่มอายุ และพื้นที่บริการต่างๆ
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ในฐานะสถานศึกษาพยาบาลตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรพยาบาล จึงได้จัดทำหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคองขึ้น ตามมาตรฐานหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด โดยกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของรายวิชาต่างๆ รวมทั้งทักษะการพยาบาลที่จำเป็นเพื่อให้พยาบาลผู้เข้ารับการอบรมได้รับการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และความสามารถในการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มีสมรรถนะของพยาบาลผู้เชี่ยวชาญการดูแลแบบประคับประคองอย่างมีมาตรฐาน สามารถให้บริการสุขภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตและความผาสุกในระยะสุดท้ายของชีวิต ในหน่วยงานการดูแลแบบประคับประคอง ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชน ส่งผลให้ผู้รับบริการได้รับบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาคุณภาพการดูแลต่อไป