หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
รายวิชาในหลักสูตร
เป็นหลักสูตรสําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้งในเนื้อหาสาระของศาสตร์การพยาบาล โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง มุ่งให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- อาจารย์พยาบาลมีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิชาการทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิจัยทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- อาชีพอิสระเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ
สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเด็ก
- อาจารย์พยาบาลมีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเด็ก
- นักวิชาการทางการพยาบาลเด็ก
- นักวิจัยทางการพยาบาลเด็ก
การพยาบาลสาธารณภัย
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเฉพาะสาขา
- อาจารย์พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเฉพาะสาขา
- นักวิจัย นักวิชาการ
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
รายวิชาในหลักสูตร
เป็นหลักสูตรสําหรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้งในเนื้อหาสาระของศาสตร์การพยาบาล โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์ จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ เชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ที่ตนเชี่ยวชาญกับศาสตร์อื่นได้อย่างต่อเนื่อง มุ่งให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ข้อกำหนดของหลักสูตร (Program Specifications) PDF
- ชื่อสถาบันอุดมศึกษา (Awarding body/institution/Teaching institution)
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย - การรับรองหลักสูตร (Details of accreditation by professional or statutory bodies)
ข้อมูลอยู่ใน ข้อกำหนดของหลักสูตร (Program Specifications) PDF - ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (Name of final award)
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
(ชื่อย่อ) พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) Master of Nursing Science (Adult and Gerontological Nursing)
(ชื่อย่อ) M.N.S. (Adult and Gerontological Nursing) - ชื่อหลักสูตร (Program title)
ภาษาไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program in Adult and Gerontological Nursing - ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร (Expected learning outcomes of the program)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความสามารถ ดังนี้- ประเมินสถานการณ์ทางสุขภาพเพื่อปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาคุณภาพการพยาบาลโดยสร้างสรรค์รูปแบบ / นวัตกรรม / นโยบาย / วิธีการแก้ปัญหา ในการจัดการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ หลักมนุษยธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมและกฎหมาย
- สร้างงานวิจัยในประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ นำเสนอ ใช้งานวิจัยในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนโดยคำนึงถึงจริยธรรม และกฎหมาย
- แสดงออกถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานสู่ความเป็นเลิศ การเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนให้ผู้อื่นมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และสร้างคุณค่าของวิชาชีพ
- แสดงออกถึงทักษะในการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษ การทำงานร่วมกับทีม เครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดการปัญหาสุขภาพผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- แสดงออกถึงทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดการสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ในประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลในการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน การวิจัย ปรับปรุงคุณภาพและระบบการพยาบาล
- ชื่อหลักสูตร (Program title)
การรับสมัครผู้เข้าศึกษาแบบปกติ
(การสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์)
การรับสมัครผู้เข้าศึกษาแบบพิเศษ
(รับตลอดปีโดยคัดเลือกตามคุณสมบัติ)
1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาการพยาบาลรับรอง
กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ทั้งด้านการพูด การอ่าน และเขียน อย่างคล่องแคล่ว
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาการพยาบาลรับรอง
กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่าและได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ทั้งด้านการพูด การอ่าน และเขียน
2) มีประสบการณ์การทำงานพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี อย่างน้อย 1 ปี นับถึงวันรับสมัคร 2) มีประสบการณ์การทำงานพยาบาลในสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่เข้าศึกษา 3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 หรือ การพยาบาลชั้น 1 3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 หรือ การพยาบาล ชั้น 1 4) มีผลการเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50 4) สำเร็จการศึกษาด้วยแต้มเฉลี่ยสะสม (GPA) เท่ากับหรือมากกว่า 3.00 ขึ้นไป และหรือเป็นผู้มี
ประสบการณ์ทำงานวิจัย/นวัตกรรมมาก่อน
5) ได้รับการรับรองความประพฤติ และความรับผิดชอบจากผู้บังคับบัญชา หรืออาจารย์ที่ปรึกษา – 6) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่รับสมัคร) ดังนี้
– IELTS ที่ระดับ 4.0 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-iBT (Internet-based test) ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ที่ระดับ 460 คะแนนขึ้นไป หรือ
– CU-TEP ที่ระดับ 35 คะแนนขึ้นไป หรือ
– MU GRAD TEST ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป
– TU-GET ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
ในกรณีที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกมีผลคะแนนภาษาอังกฤษน้อยกว่าเกณฑ์ที่ทางสถาบันกำหนด ให้ได้รับพิจารณาเข้าศึกษาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศสถาบัน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
6) มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (ผลการทดสอบใช้ได้ภายใน 2 ปี)
– IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือ
– TOEFL-iBT (Internet-based test) ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ตั้งแต่ 460 ขึ้นไป หรือ
– CU-TEP ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป หรือ
– MU GRAD TEST ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TU-GET ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
7) ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติดังข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการอำนวยการสอบคัดเลือก 7) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิตพิจารณาแล้วเห็นควรให้มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้ - ข้อมูลคู่เทียบ (Relevant benchmark reports, external and internal reference points, that may be used to provide information on program learning outcomes)
– - โครงสร้างของหลักสูตร (Program structure and requirements including levels, courses, credits, etc.)
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 แบ่งหมวดวิชาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ดังนี้
1) หมวดวิชาแกน 9 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา 12 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
1) หมวดวิชาแกน 9 หน่วยกิต 2011101 ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2(2-0-4) 2021101 ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2031101 วิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 3(2-2-5) 2041101 สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา 12 หน่วยกิต 2011211 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(3-0-6) 2021211 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 3(3-0-6) 2034211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 1 3(0-9-3) 2044211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 2 3(0-9-3) 3) หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต 2011301 การจัดการทางการพยาบาล 3(3-0-6) 2021301 การสอนทางการพยาบาล 3(2-2-5) 2031301 พยาบาลเจ้าของธุรกิจ 3(3-0-6) 2041301 การพยาบาลสาธารณภัย 3(3-0-6) 2051301 การศึกษาอิสระ 3(3-0-6) 2061301 การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล 3(3-0-6) 2071301 การดูแลแบบประคับประคอง 3(3-0-6) 2081301 นวัตกรรมทางสุขภาพ 3(3-0-6) 2091301 การบูรณาการศาสตร์เพื่อการบำบัดทางการพยาบาล 3(3-0-6) 2011402 4) วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์
12 หน่วยกิต
12(0-36-0)
แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
2011101 ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2(2-0-4) 2021101 ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2011211 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(3-0-6) 2041101 สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2031101 วิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 3(2-2-5) ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
2021211 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 3(3-0-6) 2034211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 1 3(0-9-3) 2xxx301 วิชาเลือก 3 หน่วยกิต ปีที่ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน
2044211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 2 3(0-9-3) 2011402 วิทยานิพนธ์ 2 หน่วยกิต ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
2011402 วิทยานิพนธ์ 4 หน่วยกิต ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
2011402 วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต คำบรรยายรายวิชา
1) หมวดวิชาแกน
2011101 ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2(2-0-4)
Nursing Science and Related Sciences
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางการพยาบาล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พหุวัฒนธรรม และหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด
Nursing concepts and theories; theoretical models and related concepts in nursing; philosophy of sufficiency economy; multiculturalism; humanity principle based on the fundamental principles of the Red Cross and Red Crescent.
2021101 ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Health System and Nursing Leadership
ระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การจัดระบบสุขภาพและระบบบริการ การจัดการทางการพยาบาล การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ความเสมอภาคและความเท่าเทียมด้านสุขภาพ กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาล ประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บทบาทผู้นำการพยาบาลต่อการพัฒนาและนำนโยบายสุขภาพสู่การปฏิบัติการพยาบาล
Health systems; health policies; factors influencing health systems; health economics; management of health and service delivery systems; nursing management; nursing quality improvement; equity and equality in health; law and code of ethics in the nursing profession; ethical decision-making in nursing practice; transformational leadership concepts and theories; role of nursing leaders in the development and implementation of health policy towards nursing practice.
2031101 วิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 3(2-2-5)
Nursing Research and Evidence-based Nursing
แนวคิดการวิจัยทางการพยาบาล แนวคิดนวัตกรรมทางการพยาบาล จริยธรรมการวิจัย กระบวนการวิจัย ปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การออกแบบการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการเผยแพร่ผลงานวิจัย กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การประเมินคุณภาพงานวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
Concepts of nursing research and innovation in nursing; research ethics; research process; research problems; literature review; research designs; sampling methods; research instruments; data collection; data analysis; interpretation of research findings and discussion; dissemination of research findings; use of evidence-based practice in nursing; searching for evidence; critique of research studies; and research utilization in nursing practice.
2041101 สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Statistics for Nursing Research
แนวคิดพื้นฐานทางสถิติ การเลือกใช้สถิติพรรณนา การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การใช้สถิติอ้างอิงทั้งพาราเมตริกและสถิตินอนพาราเมตริก การประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การนำเสนอข้อมูล การวัดและวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา
Basic concepts of statistics; selection of descriptive statistics; statistical hypothesis testing; use of inferential statistics: parametric and non-parametric statistics; data processing; data presentation; measurement and analysis of epidemiological data.
2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา
2011211 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(3-0-6)
Pathophysiology and Pharmacology in Adult and Gerontological Nursing
แนวคิดพยาธิสรีรวิทยา กลไกการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรวิทยาในกลุ่มโรคและความผิดปกติที่สำคัญในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ กลุ่มอาการของโรคผู้สูงอายุ การเปลี่ยนรูปแบบของอาการแสดงของโรคในผู้สูงอายุ การตอบสนองของร่างกายเมื่อเกิดพยาธิสรีรภาพในระบบต่างๆ นโยบายแห่งชาติด้านยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล หลักการทางเภสัชวิทยา ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารยาในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การบริหารยาเพื่อการบำบัดรักษาโรคและความผิดปกติที่สำคัญ ผลกระทบจากการรักษาและการใช้ยา
Concept of pathophysiology; mechanisms of pathophysiological changes of major diseases and disorders in adults and older persons; geriatric syndromes; atypical presentations of illness in older persons; human responses to the changes in organ systems; national drug policy and rationale drug use; principles of pharmacology; factors affecting drug administration in adults and older persons; pharmacotherapeutics for major disease and disorders; iatrogenic problems.
2021211 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 3(3-0-6)
Advanced Nursing for Adults and Older Persons
แนวคิดหลักการพยาบาลขั้นสูง การจัดการดูแลและการจัดการรายกรณีในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนในระยะฉุกเฉิน เฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง แนวคิดการดูแลระยะยาว การดูแลแบบประคับประคอง การดูแลตามหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด การพยาบาลพหุวัฒนธรรม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Concepts and principles of advanced nursing; care management and case management in adult and older patients with complex health problems involving emergency, acute, critical and chronic phases; concepts of long term care; palliative care; caring based on the humanity principle of the Red Cross and Red Crescent; multicultural care; evidence-based practice; innovations and advanced technology; nursing quality improvement; health resource management based on sufficiency economy philosophy; ethical principles and laws in adult and gerontological nursing.
2034211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 1 3(0-9-3)
Advanced Nursing Practicum for Adult and Older Patients 1
การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโดยการจัดการรายกรณีในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อนในระยะฉุกเฉิน เฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง บนพื้นฐานแนวคิดการดูแลระยะยาว การดูแลแบบประคับประคอง การดูแลตามหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด หลักพหุวัฒนธรรม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้นวัตกรรม/เทคโนโลยีขั้นสูงในการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การทำงานร่วมกับทีมสหสาขา การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมและกฎหมายเกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Advanced health assessment and advanced nursing practice as case managers for adult and older patients with complex health problems in emergency, acute, critical and chronic phases based on concepts in long-term care, palliative care, caring based on the humanity principle of the Red Cross and Red Crescent; multiculturalism; evidence-based practice, use of nursing innovation/ advanced health technology; improving nursing service quality, multidisciplinary teams collaboration, use of digital technology and health informatics management, health resource management based on sufficiency economy philosophy, and ethical principles and laws in adult and gerontological nursing.
2044211 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 2 3(0-9-3)
Advanced Nursing Practicum for Adult and Older Patients 2
การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงโดยการออกแบบระบบการดูแลในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่เลือกสรร จัดโครงการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล บนพื้นฐานแนวคิดการดูแลระยะยาว การดูแลแบบประคับประคอง การดูแลตามหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด หลักพหุวัฒนธรรม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์/นวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การทำงานร่วมกับทีมสหสาขา การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมและกฎหมายเกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Advanced nursing practices by designing care systems in adult and older patient groups; organizing project for improving nursing quality based on the concepts of long-term care, palliative care, humanized care based on Red Cross and Red Crescent principles, multiculturalism, evidence-based practice/ innovation, improving nursing service quality, multidisciplinary teams collaboration; use of digital technology and health informatics management, health resource management based on sufficiency economy philosophy, and ethical principles and laws in adult and gerontological nursing.
3) หมวดวิชาเลือก
2011301 การจัดการทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Management in Nursing
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางการพยาบาล การจัดการผลลัพธ์และการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การจัดสรรทรัพยากร การบริหารความขัดแย้ง การประสานงานเพื่อการดูแล ประเด็นกฏหมายและจริยธรรมในการจัดการทางการพยาบาล ประเด็นและแนวโน้มทางการจัดการทางการพยาบาล
Concepts and theories related to nursing management; outcome management and quality improvement; healthcare resource allocation, conflict management; care coordination; laws and ethics in nursing management; issues and trends in nursing management.
2021301 การสอนทางการพยาบาล 3(2-3-4)
Teaching in Nursing
ปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางการพยาบาล การพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วิธีการสอนทางการพยาบาล นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียน บทบาทและจริยธรรมของอาจารย์ การประเมินผลการเรียนรู้ และการฝึกสอน
Philosophies of education; educational theories and related theories in nursing education; curriculum development; quality assurance in education; educational concepts focusing on student-centered learning; methods of teaching in nursing; innovation and educational technology; classroom research; role of educators and ethics in the teaching profession; learning outcomes evaluation; and teaching practice.
2031301 พยาบาลเจ้าของธุรกิจ 3(3-0-6) Nursing Entrepreneurship
การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาด กลยุทธ์การตลาดการบริการสุขภาพ การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการพยาบาล การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล ดัชนีวัดผลสำเร็จตามแนวคิด ระบบวัดผลการปฏิบัติงานเชิงดุลยภาพ จริยธรรมทางธุรกิจ
Application of marketing concepts; marketing strategies in health care services; cost analysis of nursing services; strategic management in nursing; key performance indicators based on the balanced scorecard; ethics in business.
2041301 การพยาบาลสาธารณภัย 3(3-0-6)
Disaster Nursing
หลักการและแนวคิดการจัดการสาธารณภัย การเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย การจัดทำแผนและการซ้อมแผนรับสาธารณภัย การตอบโต้ต่อเหตุการณ์สาธารณภัยและการจัดการภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ เครือข่ายการจัดการสาธารณภัย การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิง การประเมินผลลัพธ์การพยาบาลสาธารณภัย การออกแบบการจัดการดูแลผู้ประสบภัยกลุ่มเปราะบาง
Principles and concepts in disaster management; disaster preparedness; disaster planning/conducting simulations and drills; responses to disaster situations and emergency management; disaster relief services based on Red Cross and Red Crescent principles; disaster management networks; health care services for disaster victims in shelters; outcomes evaluation of disaster nursing; the management designs for vulnerable victims.
2051301 การศึกษาอิสระ 3(3-0-6)
Independent Study
การเลือกประเด็นที่สนใจและศึกษาค้นคว้าจากฐานข้อมูลทางการพยาบาลและสุขภาพและแหล่งข้อมูลต่างๆ
Selection of an interesting topic and databases searching for the literature on nursing and health science.
2061301 การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Qualitative Research in Nursing
ปรัชญาและหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเด็นปัญหาการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย การประยุกต์ใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยทางการพยาบาล จริยธรรมในการทำวิจัย
Philosophies and principles of qualitative research; qualitative research problems;
qualitative research methodologies; qualitative approaches; data collection; data analysis; trustworthiness in qualitative research; report writing and discussion; application of qualitative research in nursing research; ethics in qualitative research.
2071301 นวัตกรรมทางสุขภาพ 3(3-0-6)
Health Innovation
แนวคิดนวัตกรรมทางสุขภาพ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพของ บริการสุขภาพ กระบวนการสร้างนวัตกรรม และการนำไปใช้ประโยชน์ ประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Concepts of health innovations; analysis of problems and needs in improving the quality of health services; process of building an innovation; innovation utilization; ethical issues and laws.
2081301 การดูแลแบบประคับประคอง 3(3-0-6)
Palliative Care
ปรัชญา หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การประเมินภาวะสุขภาพ การจัดการอาการและความปวด การสื่อสาร การดูแลด้านจิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การบริหารจัดการระบบการดูแลแบบประคับประคอง ประเด็นทางจริยธรรมกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
Philosophies and principles of palliative care; health assessment; symptoms and pain management; communication; psychological, psychosocial and spiritual care; end-of-life care; systems management in palliative care; ethical issues, laws, and policies in palliative care.
2091301 การบูรณาการศาสตร์เพื่อการบำบัดทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Integrative Therapies in Nursing
หลักการและวิธีการเยียวยาด้วยการบำบัดแบบผสมผสาน การบูรณาการศาสตร์ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบำบัดทางการพยาบาล
Principles of integrative and complementary therapies; integration of holistic approaches to health care; evidence-based practice in nursing therapeutics.
2011402 วิทยานิพนธ์ 12(0-36-0)
Thesis
การพัฒนาโครงการวิจัยทางการพยาบาลในหัวข้อที่เลือกสรร ภายใต้คำชี้แนะของอาจารย์ที่ปรึกษา และการเขียนรายงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่
Development of proposals and conducting nursing research in a selected topic under the supervision of an advisory committee; and research writing for publication.
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ดูรายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ https://stin.ac.th/wp-content/uploads/ข้อมูลสถาบัน/หลักสูตร/Master-Degree/ประกาศ/8.pdf
ข้อกำหนดของหลักสูตร (Program Specifications) PDF
- ชื่อสถาบันอุดมศึกษา (Awarding body/institution/Teaching institution)
สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย - การรับรองหลักสูตร (Details of accreditation by professional or statutory bodies)
อยู่ในไฟล์ ข้อกำหนดของหลักสูตร (Program Specifications) PDF - ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (Name of final award)
ภาษาไทย (ชื่อเต็ม) พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
(ชื่อย่อ) พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)ภาษาอังกฤษ (ชื่อเต็ม) Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)
(ชื่อย่อ) M.N.S. (Pediatric Nursing) - ชื่อหลักสูตร (Program title)
ภาษาไทย หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
ภาษาอังกฤษ Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing - ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร (Expected learning outcomes of the program)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความสามารถ ดังนี้- ออกแบบการจัดการดูแลโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ บนพื้นฐานหลักมนุษยธรรม
- สร้างงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการพยาบาล
- แสดงออกถึงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ในระบบบริการสุขภาพ
- ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดการสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพ
- ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาและเครือข่ายในการจัดการดูแลสุขภาพที่เป็นเลิศ
- แสดงออกถึงจริยธรรมในการจัดการการพยาบาลและการวิจัยทางการพยาบาล
- ชื่อหลักสูตร (Program title)
การรับสมัครผู้เข้าศึกษาแบบปกติ
(การสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์)
การรับสมัครผู้เข้าศึกษาแบบพิเศษ
(รับตลอดปีโดยคัดเลือกตามคุณสมบัติ)
1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาการพยาบาลรับรอง
กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ทั้งด้านการพูด การอ่าน และเขียน อย่างคล่องแคล่ว
1) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาการพยาบาลรับรอง
กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่าและได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพการพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร และสามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี ทั้งด้านการพูด การอ่าน และเขียน
2) มีประสบการณ์การทำงานพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี อย่างน้อย 1 ปี นับถึงวันรับสมัคร
2) มีประสบการณ์การทำงานพยาบาลในสาขาที่เกี่ยวข้องมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันที่เข้าศึกษา
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 หรือ การพยาบาลชั้น 1
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 หรือ การพยาบาล ชั้น 1
4) มีผลการเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50
4) สำเร็จการศึกษาด้วยแต้มเฉลี่ยสะสม (GPA) เท่ากับหรือมากกว่า 3.00 ขึ้นไป และหรือเป็นผู้มี
ประสบการณ์ทำงานวิจัย/นวัตกรรมมาก่อน
5) ได้รับการรับรองความประพฤติ และความรับผิดชอบจากผู้บังคับบัญชา หรืออาจารย์ที่ปรึกษา
–
6) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา (ผลสอบภาษาอังกฤษต้องมีอายุไม่เกิน ๒ ปี นับถึงวันที่รับสมัคร) ดังนี้
– IELTS ที่ระดับ 4.0 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-iBT (Internet-based test) ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ที่ระดับ 460 คะแนนขึ้นไป หรือ
– CU-TEP ที่ระดับ 35 คะแนนขึ้นไป หรือ
– MU GRAD TEST ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป
– TU-GET ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
ในกรณีที่ผู้สมัครสอบคัดเลือกมีผลคะแนนภาษาอังกฤษน้อยกว่าเกณฑ์ที่ทางสถาบันกำหนด ให้ได้รับพิจารณาเข้าศึกษาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามประกาศสถาบัน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2562
6) มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ (ผลการทดสอบใช้ได้ภายใน 2 ปี)
– IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือ
– TOEFL-iBT (Internet-based test) ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TOEFL-ITP (Institutional Testing Program) ตั้งแต่ 460 ขึ้นไป หรือ
– CU-TEP ตั้งแต่ 35 ขึ้นไป หรือ
– MU GRAD TEST ที่ระดับ 42 คะแนนขึ้นไป หรือ
– TU-GET ที่ระดับ 500 คะแนนขึ้นไป
7) ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติดังข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการอำนวยการสอบคัดเลือก
7) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิตพิจารณาแล้วเห็นควรให้มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้
- ข้อมูลคู่เทียบ (Relevant benchmark reports, external and internal reference points, that may be used to provide information on program learning outcomes)
– - โครงสร้างของหลักสูตร (Program structure and requirements including levels, courses, credits, etc.)
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2 แบ่งหมวดวิชาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 ดังนี้
1) หมวดวิชาแกน 9 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา 12 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
4) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รายวิชาในหลักสูตร
1) วิชาแกน
9 หน่วยกิต
2011101
ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2(2-0-4)
2021101
ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล
2(2-0-4)
2031101
วิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3(2-2-5)
2041101
สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล
2(2-0-4)
2) วิชาเฉพาะ
12 หน่วยกิต
2011221
พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับเด็ก
3(3-0-6)
2021221
การพยาบาลเด็ก
3(3-0-6)
2044211
ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1
3(0-9-3)
2054221
ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 2
3(0-9-3)
3) วิชาเลือก
3 หน่วยกิต
2011301
การจัดการทางการพยาบาล
3(3-0-6)
2023301
การสอนทางการพยาบาล
3(2-2-5)
2031301
พยาบาลเจ้าของธุรกิจ
3(3-0-6)
2041301
การพยาบาลสาธารณภัย
3(3-0-6)
2051301
การศึกษาอิสระ
3(3-0-6)
2061301
การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล
3(3-0-6)
2071301
การดูแลแบบประคับประคอง
3(3-0-6)
2081301
นวัตกรรมทางสุขภาพ
3(3-0-6)
2091301
การบูรณาการศาสตร์เพื่อการบำบัดทางการพยาบาล
3(3-0-6)
4) วิทยานิพนธ์
12 หน่วยกิต
2011402
วิทยานิพนธ์
12(0-36-0)
แผนการศึกษา
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น
2011101
ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2(2-0-4)
2021101
ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล
2(2-0-4)
2011221
พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับเด็ก
3(3-0-6)
2041101
สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล
2(2-0-4)
2031101
วิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
3(2-2-5)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย
2021221
การพยาบาลเด็ก
3(3-0-6)
2044211
ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1
3(0-9-3)
2xx1301
วิชาเลือก
3 หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาฤดูร้อน
2054221
ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 2
3(0-9-3)
2011402
วิทยานิพนธ์
2 หน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น
2011402
วิทยานิพนธ์
4 หน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย
2011402
วิทยานิพนธ์
6 หน่วยกิต
คำบรรยายรายวิชา
1) หมวดวิชาแกน
2011101 ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2(2-0-4)
Nursing Science and Related Sciences
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางการพยาบาล หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พหุวัฒนธรรม และหลักมนุษยธรรมตามหลักการกาชาด
Nursing concepts and theories; theoretical models and related concepts in nursing; philosophy of sufficiency economy; multiculturalism; humanity principle based on the fundamental principles of the Red Cross and Red Crescent.
2021101 ระบบสุขภาพกับภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Health System and Nursing Leadership
ระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
การจัดระบบสุขภาพและระบบบริการ การจัดการทางการพยาบาล การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล
ความเสมอภาคและความเท่าเทียมด้านสุขภาพ กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาล ประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บทบาทผู้นำการพยาบาลต่อการพัฒนาและนำนโยบายสุขภาพสู่การปฏิบัติการพยาบาลHealth systems; health policy; factors influencing health systems; health economics; management of health and service delivery systems; nursing management; nursing quality improvement; equity and equality in health; law and code of ethics in the nursing profession; ethical decision-making in nursing practice; transformational leadership concepts and theories; role of nursing leaders in the development and implementation of health policy towards nursing practice.
2031101 วิจัยทางการพยาบาล และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 3(2-2-5)
Nursing Research and Evidence-based Nursing
แนวคิดการวิจัยทางการพยาบาล แนวคิดนวัตกรรมทางการพยาบาล จริยธรรมการวิจัย กระบวนการวิจัย ปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การออกแบบการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การอภิปรายผล และการเผยแพร่ผลงานวิจัย กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การประเมินคุณภาพงานวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
Concepts of nursing research and innovation in nursing; research ethics; research process; research problem; literature review; research designs; sampling methods; research instruments; data collection; data analysis; interpretation of research findings and discussion; dissemination of research findings; use of evidence-based practice in nursing; searching for evidence; critique of research studies; and research utilization in nursing practice.
2041101 สถิติเพื่อการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Statistics for Nursing Research
แนวคิดพื้นฐานทางสถิติ การเลือกใช้สถิติพรรณนา การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การใช้สถิติอ้างอิงทั้งพาราเมตริกและสถิตินอนพาราเมตริก การประมวลผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การนำเสนอข้อมูล การวัดและวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา
Basic concepts of statistics; selection of descriptive statistics; statistical hypothesis testing; use of inferential statistics: parametric and non-parametric statistics; data processing; data presentation; measurement and analysis of epidemiological data.
2) หมวดวิชาเฉพาะสาขา
2011221 พยาธิสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาสำหรับเด็ก 3(3-0-6)Pathophysiology and Pharmacology in Pediatrics
แนวคิดพยาธิสรีรวิทยา สาเหตุ กลไก และการตอบสนองของร่างกายต่อความผิดปกติที่พบบ่อยในเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ภูมิคุ้มกัน โลหิตวิทยา ระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ ทางเดินอาหารและทางเดินน้ำดี ทางเดินปัสสาวะ พันธุศาสตร์ หลักการของเภสัชวิทยา หลักการบริหารยาและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
Pathophysiological concepts; causes, mechanisms and physical responses to common disorders in children, including respiratory, cardiovascular, immune, hematological, neurological, endocrine, gastrointestinal and biliary tract, urinary system and genetics; principles of pharmacological, drug administration, and rational drug use.
2021221 การพยาบาลเด็ก 3(3-0-6)
Pediatric Nursing
แนวคิดและทฤษฎีในการพยาบาลเด็ก การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ การสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก กลุ่มเด็กสุขภาพดี กลุ่มเด็กเสี่ยง กลุ่มเด็กด้อยโอกาส กลุ่มเด็กป่วย ยึดหลักครอบครัวเป็นศูนย์กลาง การดูแลต่อเนื่อง การจัดการรายกรณี นวัตกรรม หลักฐานเชิงประจักษ์ ผลลัพธ์ทางการพยาบาล ความเสมอภาคและความเท่าเทียมด้านสุขภาพ
Concepts and theories of pediatric nursing; pediatric health assessment; management of health-risk behaviors; safety promotion and injury prevention for healthy children, at-risk children, underprivileged children and children with health problems; family-centered care; continuing care; case management; innovations; evidence-based practice; nursing outcomes; health equity and equality.
2044211 ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1 3(0-9-3)
Practicum in Pediatric Nursing I
การประเมินภาวะสุขภาพเด็ก กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มด้อยโอกาส จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ การจัดการพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก การทำงานร่วมกับสหสาขา ประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ บนพื้นฐานสิทธิเด็ก จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
Pediatric health assessment in healthy children, at-risk children and underprivileged children; conducting health promotion projects; management of health-risk behaviors; child safety promotion and injury prevention; multidisciplinary team collaboration; health outcome evaluation based on children’s rights, ethics and codes of profession.
2054221 ปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 2 3(0-9-3)
Practicum in Pediatric Nursing II
การจัดการพยาบาลเด็ก กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพระยะเฉียบพลัน ระยะวิกฤต ระยะเรื้อรัง และระยะท้าย ยึดหลักครอบครัวเป็นศูนย์กลางและให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมการพยาบาลเด็ก บูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ ความปลอดภัยในการดูแลเด็ก ประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพ จริยธรรมและกฎหมาย
Pediatric nursing management in acute, critical, chronic, and end-of-life stages by using family-centered and continuing care; innovative pediatric nursing initiation; integration of nursing science and related sciences; evidence-based practice; patient safety; health outcome evaluation; ethics and law
3) หมวดวิชาเลือก
2011301 การจัดการทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Management in Nursing
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางการพยาบาล การจัดการผลลัพธ์และการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การจัดสรรทรัพยากร การบริหารความขัดแย้ง การประสานงานเพื่อการดูแล ประเด็นกฏหมายและจริยธรรมในการจัดการทางการพยาบาล ประเด็นและแนวโน้มทางการจัดการทางการพยาบาล
Concepts, and theories related to nursing management; outcome management and quality improvement; healthcare resource allocation, conflict management; care coordination; laws and ethics in nursing management; issues and trends in nursing management.
2021301 การสอนทางการพยาบาล 3(2-2-5)
Teaching in Nursing
ปรัชญาการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทางการพยาบาล การพัฒนาหลักสูตร การประกันคุณภาพการศึกษา แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วิธีการสอนทางการพยาบาล นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การวิจัยในชั้นเรียน บทบาทและจริยธรรมของอาจารย์ การประเมินผลการเรียนรู้ และการฝึกสอน
Philosophies of education; educational theories and related theories in nursing education; curriculum development; quality assurance in education; educational concepts focusing on student-centered learning; methods of teaching in nursing; innovation and educational technology; classroom research; role of educators and ethics in the teaching profession; learning outcomes evaluation; and teaching practice.
2031301 พยาบาลเจ้าของธุรกิจ 3(3-0-6) Nursing Entrepreneurship
การประยุกต์ใช้แนวคิดการตลาด กลยุทธ์การตลาดการบริการสุขภาพ การวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการพยาบาล การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล ดัชนีวัดผลสำเร็จตามแนวคิด ระบบวัดผลการปฏิบัติงานเชิงดุลยภาพ จริยธรรมทางธุรกิจ
Application of marketing concepts; marketing strategies in health care services; cost analysis of nursing services; strategic management in nursing; key performance indicators based on the balanced scorecard; ethics in business.
2041301 การพยาบาลสาธารณภัย 3(3-0-6)
Disaster Nursing
หลักการและแนวคิดการจัดการสาธารณภัย การเตรียมพร้อมรับสาธารณภัย การจัดทำแผนและการซ้อมแผนรับสาธารณภัย การตอบโต้ต่อเหตุการณ์สาธารณภัยและการจัดการภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ เครือข่ายการจัดการสาธารณภัย การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ประสบภัยในศูนย์พักพิง การประเมินผลลัพธ์การพยาบาลสาธารณภัย การออกแบบการจัดการดูแลผู้ประสบภัยกลุ่มเปราะบาง
Principles and concepts in disaster management; disaster preparedness; disaster planning/conducting simulations and drills; responses to disaster situations and emergency management; disaster relief services based on Red Cross and Red Crescent principles; disaster management networks; health care services for disaster victims in shelters; outcomes evaluation of disaster nursing; the management designs for vulnerable victims.
2051301 การศึกษาอิสระ 3(3-0-6)
Independent Study
การเลือกประเด็นที่สนใจและศึกษาค้นคว้าจากฐานข้อมูลทางการพยาบาลและสุขภาพและแหล่งข้อมูลต่างๆ
Selection of an interesting topic and databases searching for the literature on nursing and health science.
2061301 การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Qualitative Research in Nursing
ปรัชญาและหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเด็นปัญหาการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ขั้นตอนดำเนินการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย การประยุกต์ใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพในการวิจัยทางการพยาบาล จริยธรรมในการทำวิจัย
Philosophies and principles of qualitative research; qualitative research problems;
qualitative research methodologies; qualitative approaches; data collection; data analysis; trustworthiness in qualitative research; report writing and discussion; application of qualitative research in nursing research; ethics in qualitative research.
2071301 นวัตกรรมทางสุขภาพ 3(3-0-6)
Health Innovation
แนวคิดนวัตกรรมทางสุขภาพ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพของ บริการสุขภาพ กระบวนการสร้างนวัตกรรม และการนำไปใช้ประโยชน์ ประเด็นทางจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
Concepts of health innovations; analysis of problems and needs in improving the quality of health services; process of building an innovation; innovation utilization; ethical issues and laws.
2081301 การดูแลแบบประคับประคอง 3(3-0-6)
Palliative Care
ปรัชญา หลักการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การประเมินภาวะสุขภาพ การจัดการอาการและความปวด การสื่อสาร การดูแลด้านจิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การบริหารจัดการระบบการดูแลแบบประคับประคอง ประเด็นทางจริยธรรมกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
Philosophies and principles of palliative care; health assessment; symptoms and pain management; communication; psychological, psychosocial and spiritual care; end-of-life care; systems management in palliative care; ethical issues, laws, and policies in palliative care.
2091301 การบูรณาการศาสตร์เพื่อการบำบัดทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Integrative Therapies in Nursing
หลักการและวิธีการเยียวยาด้วยการบำบัดแบบผสมผสาน การบูรณาการศาสตร์ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการบำบัดทางการพยาบาล
Principles of integrative and complementary therapies; integration of holistic approaches to health care; evidence-based practice in nursing therapeutics.
2011402 วิทยานิพนธ์ 12(0-36-0)
Thesis
การพัฒนาโครงการวิจัยทางการพยาบาลในหัวข้อที่เลือกสรร ภายใต้คำชี้แนะของอาจารย์ที่ปรึกษา และการเขียนรายงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่
Development of proposals and conducting nursing research in a selected topic under the supervision of an advisory committee; and research writing for publication.
- ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ดูรายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ https://stin.ac.th/wp-content/uploads/ข้อมูลสถาบัน/หลักสูตร/Master-Degree/ประกาศ/8.pdf
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- อาจารย์พยาบาลมีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิชาการทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- นักวิจัยทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
- อาชีพอิสระเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ
สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- พยาบาลวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเด็ก
- อาจารย์พยาบาลมีความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเด็ก
- นักวิชาการทางการพยาบาลเด็ก
- นักวิจัยทางการพยาบาลเด็ก